▌ ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
❐ ตราสัญลักษณ์
พระขรรค์สามง่าม สวมด้วยห่วงมงคล
พระขรรค์ หมายถึง อาวุธของพระนารายณ์ แสดงถึงความเฉียบแหลมทางปัญญา
ห่วงมงคลสามห่วง หมายถึง พัฒนา สามัคคี มีวินัย
เส้นวงกลมนอก 3 เส้น หมายถึง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
❐ ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ประจำอำเภอ ตั้งอยู่ที่ตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนแห่งนี้มีพื้นที่ 63 ไร่ 2 งาน 62 ตารางวา โดยตั้งอยู่ในที่ลุ่มซึ่งมีน้ำท่วมขังในฤดูฝน มีอาณาเขตด้านทิศตะวันออกติดชุมชนบ้านโดดวิทยา ทิศตะวันตกติดโรงเรียนอนุบาลสำโรงทาบ (บริคุตต์วิทยาคุณ) ทิศเหนือติดที่นาชาวบ้านและชุมชน และทิศใต้ติดที่นาชาวบ้าน
โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ หน่วยงานราชการต่าง ๆ และชุมชนตลาดอำเภอสำโรงทาบประมาณ 2 กิโลเมตร โดยชุมชนให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเป็นอย่างดี
❐ ข้อมูลด้านการบริหาร
● ผู้อำนวยการโรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม
นายทศพร สระแก้ว วุฒิการศึกษา -
ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม -
● รองผู้อำนวยการ จำนวน 3 คน
1. นางสาวศิรินยา สิงห์คำ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป
2. นางสาวเกณิกา ชัยชาญ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ
3. นางสาวจันทร์เพ็ญ สันทาลุนัย ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล
4. นางวริษฐา นิ้วทอง ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงบประมาณ
❐ วิสัยทัศน์โรงเรียน ปีการศึกษา 2565 - 2569
"พัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล บนพื้นฐานการน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน"
❐ พันธกิจ
1. พัฒนาศักยภาพผู้เรียนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
2. ส่งเสริม และพัฒนาให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาตนเองเพื่อให้มีสมรรถนะตรงตามสายงานและมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์อย่างมืออาชีพ
3. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ ปลูกฝังจิตสำนึกรักความเป็นไทยและยึดมั่นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4. บริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาล และส่งเสริมกระบวนการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Technology Digital)
5. ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
6. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาให้ผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา พัฒนา สถานศึกษาให้มี ความปลอดภัยจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ
❐ เป้าประสงค์หลัก
1. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีทักษะและสมรรถนะตามหลักสูตร มีคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีสุขภาวะที่เหมาะสมตามวัย มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพลเมืองและเป็นพลโลกที่ดี (Global Citizen)
2. ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ และมีความต้องการพิเศษได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม มีคุณภาพ และพัฒนาความสามารถสู่ความเป็นเลิศอย่างเต็มตามศักยภาพ
3. ผู้เรียนรักและศรัทธาในสถาบันหลักของชาติ มีคุณลักษณะรักความเป็นไทย และยึดมั่นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์
4. ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะตรงตามสายงาน มีจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ เป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม ใช้เทคโนโลยี และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่กระบวนการจัดการเรียนรู้
5. ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำทางการบริหาร ยึดหลักธรรมาภิบาล และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างมีคุณภาพ
6. สถานศึกษาจัดการศึกษา เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
❐ ประเด็นกลยุทธ์/กลยุทธ์
กลยุทธ์ที่ 1 จัดการศึกษาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเน้นการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การจัดการเรียนรู้บูรณาการตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทักษะอาชีพ และบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษและมีความต้องการพิเศษให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม มีคุณภาพ และพัฒนาความสามารถสู่ความเป็นเลิศอย่างเต็มตามศักยภาพ
กลยุทธ์ที่ 3 สร้างรากฐานความคิด ความรัก ความศรัทธาในความเป็นไทย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมอันพึงประสงค์ และสถาบันหลักของชาติ
กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมให้ครูออกแบบและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC)
กลยุทธ์ที่ 5 สร้างเสริมขวัญกำลังใจ และสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาระบบการบริหารจัดการ และส่งเสริมการมีส่วนร่วม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างมีคุณภาพ
กลยุทธ์ที่ 7 ส่งเสริมการบูรณาการหลักคิด หลักปฏิบัติ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
❐ พระพุทธรูปประจำโรงเรียน
พระพุทธเทพนวมงคล
❐ คติพจน์ ปรัชญา และคำขวัญ
● คติพจน์ สุวิชาโน ภวํ โหติ ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ
● ปรัชญา ความรู้ดี มีจรรยา พลานามัยสมบูรณ์
● คำขวัญ เรียนดี มีวินัย ห่างไกลสิ่งเสพติด ใกล้ชิดชุมชน
❐ สีประจำโรงเรียน
● สีแสด หมายถึง ความแกร่งกล้า ความเข้มแข็ง ความสง่า
● สีเขียว หมายถึง ความสดชื่น ความอดทน ความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ความเจริญงอกงาม
❐ คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ สุจริต
3. มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง
6. มุ่งมั่นในการทำงาน
7. รักความเป็นไทย
8. มีจิตสาธารณะ
❐ อัตลักษณ์ (ยิ้ม ไหว้ ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง)
ยิ้ม หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความเป็นบุคคลที่มองโลกในแง่ดี แจ่มใส มั่นใจในตนเอง มีสเน่ห์ และมีมนุษยสัมพันธ์ดี
ไหว้ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความเป็นบุคคลที่มีมารยาท มีไมตรีที่ดีมีสัมมาคารวะ
ใฝ่เรียนรู้ หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียน แสวงหาความรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
อยู่อย่างพอเพียง หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และปรับตัวเพื่อยู่รอดในสังคมได้อย่างมีความสุข
❐ เอกลักษณ์ (พอเพียง)
พอเพียง หมายถึง การน้อมนำหลักความพอประมาณ ความมีเหตุผล ความมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ภายใต้เงื่อนไขการมีความรู้และคุณธรรม มาเป็นหลักคิดและวิธีปฏิบัติของตนของบุคลากร และถ่ายทอดสู่ตัวผู้เรียนให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
❐ ค่านิยมขององค์กร
"SRK" ย่อมาจาก Samrongthapwittayakom school
S-Sufficiency หมายถึง ความพอเพียง ในที่นี้หมายถึง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
R-Responsibility หมายถึง ความรับผิดชอบ
K-Knowledge หมายถึง ความรู้
SRK การใช้ความรู้ พร้อมกับน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักคิดและแนวปฏิบัติร่วมกันขององค์กร โดยอาศัยการร่วมมือร่วมรับผิดชอบ เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินงานจนประสบผลสำเร็จบรรลุตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
❐ เพลงมาร์ชโรงเรียน
คำร้อง (เดิม:นางสาวสุวคนธ์ ทองแม้น)
คำร้อง (ปรับปรุง:นางอมร พันชนะ, นายกรวีย์ คงตน)
พวกเราชาว ส.ร.ค.งามเลิศหนอในด้านการศึกษา
โรงเรียนดีมีวินัยใฝ่ค้นคว้าขุมพลังทางปัญญาของชุมชน
โรงเรียนพร้อมเทคโนฯ การศึกษาพัฒนาแหล่งเรียนรู้ดูมากล้น
บูรณาการการเรียนรู้สู่ชุมชนพัฒนาคนให้รุ่งเรืองสืบไป
เราอนุรักษ์ความเป็นไทยเชิดชูไว้ชาติศาสนา
เรารู้รักสามัคคีมีจรรยาไม่พึ่งพาสิ่งเสพติดไม่คิดลอง
เราจะหลอมรวมดวงใจให้เป็นหนึ่งให้ซาบซึ้งสมญานามลูกแสดเขียว
มีความรักยึดดวงใจใฝ่กลมเกลียวที่ยึดเหนี่ยวพระพุทธเทพนวมงคล
จะสัญญาเป็นคนดีไม่มีเปลี่ยนจะพากเพียรเร่งศึกษาพาฝึกฝน
จรรยาดีมีปัญญาน่าชื่นชมคนนิยมงามเลิศล้ำชาว ส.ร.ค.
คนนิยมสำโรงทาบวิทยาคม